ข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

[title]

คู่มือการวางแผน...เพาะปลูกผักฝืนฤดูให้รวย
หมวด : การเกษตรกรรม
สำนักพิมพ์ : บริษัท ออลเดย์ ช็อปปิ้ง จำกัด
ผู้แต่ง : อัมพา คำวงษา
ยอดคงเหลือ : 1
ตัวอย่าง
[field_borrow_button]


เนื้อหาย่อ :

ผัก...ถือเป็นหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของคนเรา อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ โดยส่วนใหญ่เราบริโภคผักเป็นส่วนหนึ่งในอาหารกันเกือบทุกมื้ออยู่แล้ว
(ถึงแม้ว่าบางคนอาจจะปฏิเสธการบริโภคผักโดยตรง แต่ทว่าผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น ซอสต่างๆ หรือแม้แต่ส่วนผสม/เครื่องเคียงในเกือบจะทุกเมนูอาหารในโลกนี้ก็มักจะมีผักอยู่ดี)
ดังนั้นทุกบ้านจะมีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าอาหารเพื่อการดำรงชีวิตซึ่งหากเมื่อแยกเป็นเฉพาะค่า "ผัก" อย่างเดียวแล้ว แน่นอนว่าอาจมากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความชอบไม่ชอบในการรับประทานผักของแต่ละคนด้วย
แต่จากการที่ระยะหลังมานี้จะสังเกตเห็นว่าผักเริ่มมีราคาแพงขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคเองก็บ่นกันอย่างหนาหูถึงภาวะ "ราคาผัก" ที่) แพงเกือบตลอดทั้งปี ไม่เฉพาะแต่ในช่วงฤดูกาลใดฤดูกาลหนึ่งเช่นที่เคยรู้กันมาก่อนหน้กับที่มาของ
"ผักแพง" นั้นพอเทียบเคียงได้จากปัญหาการผลิตในแต่ละฤดูกาลดังนี้เริ่มจาก หน้าร้อน คือตั้งแต่เดือน มี.ค.-พ.ค. ความร้อนจากอากาศในช่วงนี้ไม่เพียงทำให้เกิดปัญหาผักใบไหม้ เฉาแห้งตาย
หรือยุบตาย ประกอบกับในหลายๆ พื้นที่มักจะประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำ /แหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร และสภาวะอากาศที่แห้ง ร้อนอบอ้าว ทำให้แมลงศัตรูพืชต่างๆ อาทิ เพลี้ยไฟ ไรแดง ฯลฯ
มีการแพร่พันธุ์และเข้ามารบกวนพืชผักที่ปลูกได้ง่าย จึงทำให้ผักหลายๆชนิดที่สามารถปลูกได้ในช่วงหน้าร้อนหรือหน้าแล้งมีราคาแพงกว่าช่วงอื่นๆ เช่น คะน้า ผักชี ต้นหอมมะระจีน และแต่งกว่า เป็นต้น ส่วน หน้าฝน คือตั้งแต่ มิ.ย.-ต.ค.
นอกจากอุปสรรคในเรื่องของ "น้ำปลูกได้ค่อนข้างยากและพบว่ามักมีราคาแพงในช่วงนี้ทุกปี เช่น ผักชื่ ขึ้นฉ่าย และต้นหอม เป็นต้น และสุดท้าย หน้าหนาว คือตั้งแต่ พ.ย.- ก.พ. โดยทั่วไปพืชจะหยุดชะงักการเจริญเติบโตในช่วงหน้าหนาว
อีกทั้งปัญหาโรคแมลงก็มีรบกวนอยู่มาก เช่น โรคไวรัส โรคจากเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย หนอน เพลี้ยและอื่นๆ ดังนั้นหากต้องการจะผลิตพืชและให้ได้ผลผลิตตามความต้องการ จึงอาจต้องเพิ่มในเรื่องของการจัดการเข้าช่วย
ยกตัวอย่างเช่น การผลิตดอกกุยช่าย ที่เน้นให้ปุยสูตรตัวหลัง (K) สูงเพราะไม่ต้องการใบ แต่ต้องการ "ดอก" แทน หรือ การปลูกผักบุ้งจีน ที่มีการใช้ฮอร์โมน (หรือยายืดู) ช่วยยึดต้นให้พุ่งหรือสูงขึ้น เพื่อการจำหน่ายผลผลิตในช่วงหน้าหน่าวที่ได้ราคาแพง เป็นตัน
นอกจากนี้ ผลกระทบจากวิกฤติ "โลกร้อน" หรือการที่สภาพภูมิอากาศมีความเปลี่ยนแปลง แปรปรวนไปอย่างมากในปัจจุบัน จึงทำให้เป็นโอกาสสำหรับ "การผลิตพืชนอกฤดูกาล" เพราะไม่เพียงสามารถใช้แก้ปัญหาดังกล่าวได้ในระดับที่พอใจแล้วเท่านั้น
ขณะเดียวกันยังสามารถสร้างความคุ้มค่าในเรื่อง "ราคาผลผลิต" ให้อย่างน่าสนใจอีกด้วยหนังสือคู่มือการวางแผน..เพาะปลูกผักฝืนฤดูให้รวย ที่จัดทำขึ้นนี้ ได้รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตพืชผักั เทคในโลยีในการจัดการ
ตลอดจนแนวคิดและการวางแผนปลูกผักเพื่อให้สามารถจำหน่ายได้ราคาดี จากทั้งนักวิชาการที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรผู้ประลบความสำเร็จในการเพาะปลูกพืชผักตาง" ซึ่งทางผัจัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นแนวทางให้สำหรับ
ผู้สนใจได้เกิด "ไอเดีย" ในการพัฒนาอาชีพการเกษตรของตนเองต่อไปเพื่อความกินดีอยู่ดีไม่มากก็น้อย