"ความหมายเชิง “สัญลักษณ์” นัยยะแฝงเร้นในงานศิลปกรรมรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ทรงเป็นกษัตริย์นักปราชญ์ ทรงมีความรอบรู้หลายอย่าง ทั้งด้านภาษา วิทยาศาสตร์ และศาสนา โดยเฉพาะวิทยาการจากโลกตะวันตก ที่ท่านให้ความสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ และก่อนหน้าที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์นั้น พระองค์เป็นพระภิกษุ ""พระวชิรญาณ"" ที่มีความสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในบ้านเรานั่นคือ การก่อตั้งนิกายธรรมยุต การก่อตั้งนิกายดังกล่าว จึงมีผลต่องานพุทธศิลป์ในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๓ และ รัชกาลที่ ๔ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งงานที่พระองค์โปรดฯให้สร้างนั้น ก็แฝงคติความเชื่อบางอย่าง ที่น่าขบคิด และความเชื่อนั้นสะท้อนอุดมการณ์บางอย่างในพระองค์ท่านอย่างน่าสนใจ จึงกลายเป็นที่มาของหนังสือเล่มนี้ หมายเหตุ ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เขียนคำนิยม"